วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

การเชื่อมต่อเครื่อข่าย เวิลด์ไวด์เว็บ เว็บบราว์เซอร์

      การเชื่อมต่อเครือข่าย

         ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคนอาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน  บริษัท หรือสถานศึกษาของตน ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงานหรือสำนักงานใหญ่ๆ จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายในองค์กร (LAN) ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP) ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง (High-Speed Leased Line) แทนที่จะเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม (Modem) แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง LAN ที่ไม่โตมากนักก็อาจใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้ เพราะจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องความเร็ว ในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็กน้อย
 http://www.rayongwit.ac.th/computer/m2fri49/g7m2fri/con_internet.htm


ระบบข่าวสารเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW)
          ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๔ มีการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข่าวสารแบบไฮเปอร์เทกซ์บนเครือข่าย ส่วนของไฮเปอร์เทกซ์เป็นเอกสารที่เชื่อมโยงกันได้ทั่วทั้งเครือข่าย จึงเรียกระบบสารเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารนี้ว่า WWW (World Wide Web) ระบบข่าวสาร WWW เป็นระบบข่าวสารที่มีประโยชน์มาก มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง และเป็นที่นิยมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
          หากย้อนกลับไปในอดีต ความคิดในเรื่องไฮเปอร์เทกซ์มีมานานแล้ว โดยเฉพาะในสมัยที่บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์สร้างเครื่องแมคอินทอชและระบบกราฟิคัลยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ (GUI)บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้สร้างรูปแบบของการเก็บข้อมูลแบบไฮเปอร์เทกซ์ไว้ ระบบการเก็บข้อมูลแบบไฮเปอร์เทกซ์จึงเป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้ใช้เครื่องแอปเปิลแมคอินทอช
          เมื่ออินเทอร์เน็ตแพร่หลาย ความคิดในการทำไฮเปอร์เทกซ์มาประยุกต์บนเครือข่ายก็เริ่มเป็นรูปร่าง โดยมีการพัฒนากลไกขึ้นมา ๓ ส่วนส่วนแรกคือ ตัวเนื้อหาหรือข้อมูล ซึ่งก็คือ ตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่รวมรูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวไว้ หรือมีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดียหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้มีลักษณะเฉพาะตามมาตรฐานที่กำหนด โดยเน้นการผลิตตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่แยกออกไป การจัดรูปแบบหนังสือใช้มาตรฐาน HTML ส่วนที่ ๒ คือส่วนจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และเชื่อมโยงบนเครือข่าย ซึ่งได้มีการกำหนดโพรโทคอลพิเศษสำหรับการเชื่อมโยงบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกว่า โพรโทคอล HTTP (HyperText TransportProtocol) โพรโทคอลนี้มีลักษณะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่ ๓ คือ เครื่องเปิดอ่านหนังสือ หรือที่เรียกว่า เบราว์เซอร์ (browser)เครื่องเปิดอ่านหนังสือจะเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายตามโพรโทคอลที่กำหนด และเชื่อมโยงเพื่อนำ  ข้อมูลหนังสือ (ไฮเปอร์เทกซ์) มาแสดงผลเบราว์เซอร์สามารถแสดงผลแบบมัลติมีเดียได้เมื่อรวมทั้ง ๓ ส่วนนี้เข้าด้วยกัน จึงกลายมาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากมาย เราเรียกระบบข่าวสารที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW)

http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A_(WWW)/

เว็บเบราว์เซอร์ (อังกฤษ: web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น